Cockroach Road Baccarat

การจดแต้มแบบค็อกโรชโรด

 

 

            การจดแต้มแบบค็อกโรชโรด (Cockroach Road) เรียกอีกอย่างว่า “เค้าแมลงสาบ” ที่เรียกว่า “เค้าแมลงสาบ” เนื่องจากเค้าไพ่ที่ได้จากการจดแต้มด้วยวิธีนี้จะมีลักษณะเหมือนทางเดินของแมลงสาบการจดแต้มวิธีนี้อาศัยการแปลงค่าจากการจดแต้มแบบบิ๊กโรด (Big Road) โดยใช้การเปรียบเทียบค่าในคอลัมน์ปัจจุบันกับค่าในคอลัมน์ก่อนหน้านี้ 3 คอลัมน์  ซึ่งมีขั้นตอนการบันทึกแต้มดังนี้

ขั้นตอนการแปลงเค้าไพ่

1.      จุดเริ่มต้นของค็อกโรชโรด คือ ค่าในตารางช่อง แถวที่ 2 คอลัมน์ที่ 3 (2,4ของบิ๊กโรด ถ้าตารางช่องดังกล่าวเป็นเซลล์ว่าง ไม่มีค่าใดๆ บรรจุอยู่ให้ใช้ ตารางช่อง แถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 5 (1,5แทน

จุดเริ่มต้นของของค็อกโรชโรด

 

2.      เมื่อได้จุดเริ่มต้นของค็อกโรชโรดแล้วจากนั้นก็ทำการแปลงค่าต่างๆ ในบิ๊กโรดให้เป็นเครื่องหมายแถบสีของของค็อกโรชโรดโดยใช้กฎการแปลงเค้าไพ่

3.      ผลเสมอจะไม่นำมาคิดในการแปลงค่าของค็อกโรชโรด ผู้เขียนจึงขอแนะนำว่า เวลาจดแต้มในบิ๊กโรดให้ใช้แบบไม่ลงผลเสมอในเซลล์ใหม่

4.      เครื่องหมายสีแดงและน้ำเงินในค็อกโรชโรดไม่ได้สื่อความหมายถึงแบงค์เกอร์หรือเพลเยอร์แต่อย่างใด โดยเครื่องหมายสีแดงในของค็อกโรชโรด จะหมายถึง การชนะติดต่อกันซ้ำกับวงจรไพ่เดิมที่ออกไปแล้วในคอลัมน์ก่อนหน้านี้ 3 คอลัมน์ และเครื่องหมายสีน้ำเงินจะหมายถึงไพ่ที่ออกไม่มีซ้ำกับวงจรไพ่เดิมที่ออกไปแล้วในคอลัมน์ก่อนหน้านี้ 3 คอลัมน์ เลย

ตัวอย่าง การแปลงแต้มจากบิ๊กโรดเป็นค็อกโรชโรด >>> ผู้อ่านควรเปิดดูหัวข้อ การแปลงเค้าไพประกอบจะทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

แผนผังการแปลงเค้าไพ่

 

ขั้นตอนการลงแต้ม

1.      น้ำเงินหมายเลข 1 แดงหมายเลข 2-3 น้ำเงินหมายเลข 4-5  และแดงหมายเลข 6 ยังไม่ต้องลงแต้มใดๆ เพราะยังไม่ถึงเซลล์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของค็อกโรชโรด

2.      เนื่องจากเซลล์ตารางช่อง แถวที่ 2 คอลัมน์ที่ 4 (2,4) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของค็อกโรชโรดเป็นเซลล์ว่าง จึงต้องใช้เซลล์ตารางช่อง แถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 5 (1,5) เป็นจุดเริ่มต้นแทน ซึ่งจากการพิจารณามีน้ำเงินหมายเลข 7 บรรจุอยู่ เมื่อพิจารณาตามกฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 2 (2.1.1) พบว่าความสูงของคอลัมน์ที่อยู่ติดกัน (คอลัมน์ที่ 4) กับคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 1 ) สูงเท่ากัน ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีแดง

3.      น้ำเงินหมายเลข 8 พิจารณาตามกฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 1 (1.1) พบว่าน้ำเงินหมายเลข 8 อยู่ในตำแหน่งที่มีความสูงเท่ากับคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 2) ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีแดง

4.      น้ำเงินหมายเลข 9 พิจารณาตามกฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 1 (1.2) พบว่าน้ำเงินหมายเลข 9 อยู่ในตำแหน่งเซลล์แรกที่มีความสูงมากกว่าคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 2) ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีน้ำเงิน

5.      แดงหมายเลข 10 อยู่ในแถวที่ 1 พิจารณาโดยใช้กฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 2 (2.1.2) พบว่าความสูงของคอลัมน์ที่อยู่ติดกัน (คอลัมน์ที่ 5) กับคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 2) สูงไม่เท่ากัน ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีน้ำเงิน

6.      น้ำเงินหมายเลข 11 อยู่ในแถวที่ 1 พิจารณาโดยใช้กฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 2 (2.1.2) พบว่าความสูงของคอลัมน์ที่อยู่ติดกัน (คอลัมน์ที่ 6) กับคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 3) สูงไม่เท่ากัน ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีน้ำเงิน

7.      น้ำเงินหมายเลข 12 พิจารณาตามกฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 1 (1.2) พบว่าน้ำเงินหมายเลข 12 อยู่ในตำแหน่งเซลล์แรกที่มีความสูงมากกว่าคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 4) ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีน้ำเงิน

8.      แดงหมายเลข 13 อยู่ในแถวที่ 1 พิจารณาโดยใช้กฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 2 (2.1.2) พบว่าความสูงของคอลัมน์ที่อยู่ติดกัน (คอลัมน์ที่ 7) กับคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 4) สูงไม่เท่ากัน ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีน้ำเงิน

9.      แดงหมายเลข 14 พิจารณาตามกฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 1 (1.1) พบว่าน้ำเงินหมายเลข 14 อยู่ในตำแหน่งที่มีความสูงน้อยกว่าคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 5) ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีแดง

10.  แดงหมายเลข 15 พิจารณาตามกฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 1 (1.1) พบว่าน้ำเงินหมายเลข 15 อยู่ในตำแหน่งที่มีความสูงเท่ากับคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 5) ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีแดง

11.  แดงหมายเลข 16 พิจารณาตามกฎการแปลงเค้าไพ่ข้อ 1 (1.2) พบว่าแดงหมายเลข 16 อยู่ในตำแหน่งเซลล์แรกที่มีความสูงมากกว่าคอลัมน์ที่นำไปเปรียบเทียบ (คอลัมน์ที่ 5) ได้แต้มของค็อกโรชโรดคือสีน้ำเงิน

12.  ส่วนการพิจารณาค่าอื่นๆ ที่เหลือ ก็ใช้หลักการเดียวกัน ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ “แผนผังการแปลงเค้าไพ่” ช่วยจะทำให้แปลงค่าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในกรณีของค็อกโรชโรดระยะห่างระหว่างคอลัมน์ปัจจุบันกับคอลัมน์ที่ต้องการเปรียบเทียบใน แผนผังการแปลงเค้าไพ่จะมีตำแหน่งต่างกัน 3 คอลัมน์ ที่เหลือก็เพียงลงค่าต่างๆ ตามเครื่องหมายที่ระบุไว้ใน  “แผนผังการแปลงเค้าไพ่”  ซึ่งเมื่อแปลงค่าทั้งหมดจนแล้วเสร็จ จะได้เค้าไพ่ใหม่ของค็อกโรชโรด ดังภาพข้างล่าง

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายห้ามนำบทความ รูปภาพ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์เซียนคาสิโนไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
Copy Right © 2012 ZeanPanan.Com  All Right Reserved